วันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2556

BIOS Password Hack in Laptops

    กล่าวคือ การปลดล๊อค รหัสผ่านที่โดนตั้งโดยผู้ใช้งานใน BIOS นั้นเอง วิธีการก็มีหลายอย่าง
     1.ถอดถ่านที่เลื้ยงตัว Bios ออก และถอดแบตฯ ตัวเครื่อง และอะแดปเตอร์ออกให้หมด ถ้าเป็นคอมฯ ตั้งโต๊ะ ค่าทั้งหมดก็จะกลับคืนค่าเดิมที่ถูกตั้งมาจากโรงงาน แต่โน๊ตบุ๊กน่ะสิ ถอดไว้ทั้งวันมันก็ไม่หาย ทำไงล่ะ ลองดูวิธีอื่น ๆ อีกต่อไป

     2.รีเซ็ต Bios บางรุ่น (บางรุ่นนะ) จะมีที่สำหรับทำการรีเซ็ตค่า Bios อยู่ หาดูดี ๆ เถอะ หาไม่เจอก็ถาม Google ก็แล้วกัน










     3.ใส่รหัสผ่านเฉพาะสำหรับปลดล็อก โดยแต่ละรุ่นจะมีรหัสเฉพาะสำหรับคืนค่า bios อยู่ เพื่อใช้คืนค่า bios นั้นเอง วิธีการคือเปิดเครื่องเมื่อเครื่องถามรหัสก็พิมพ์รหัสเข้าไป
VendorHash EncodingExample of Hash Code/SerialScripts
Compaq5 decimal digits12345pwgen-5dec.py
Windows binary
Dellserial number1234567-595B
1234567-D35B
1234567-2A7B

Windows binary&source
Fujitsu-Siemens5 decimal digits12345pwgen-5dec.py
Windows binary
Fujitsu-Siemens8 hexadecimal digitsDEADBEEFpwgen-fsi-hex.py
Windows binary
Fujitsu-Siemens5x4 hexadecimal digitsAAAA-BBBB-CCCC-DEAD-BEEFpwgen-fsi-hex.py
Windows binary
Fujitsu-Siemens5x4 decimal digits1234-4321-1234-4321-1234pwgen-fsi-5x4dec.py
Windows binary
Hewlett-Packard5 decimal digits12345pwgen-5dec.py
Windows binary
Hewlett-Packard/Compaq Netbooks10 charactersCNU1234ABCpwgen-hpmini.py
Windows binary
Insyde H20 (generic)8 decimal digits03133610pwgen-insyde.py
Windows binary
Phoenix (generic)5 decimal digits12345pwgen-5dec.py
Windows binary
Sony7 digit serial number1234567pwgen-sony-serial.py
Windows binary
Samsung12 hexadecimal digits07088120410C0000pwgen-samsung.py
Windows binary
    
 ตารางด้านบน คือ ดาวน์โหลดโปรแกรมสำหรับตรวจเช็ครหัสตัวเครื่องกับรหัสผ่าน มา จากนั้นใส่รหัสตัวเครื่องลงในโปรแกรม แล้วโปรแกรมก็จะบอกรหัสผ่านออกมา ซึ่งรหัสของแต่ละเครื่องนั้นจะไม่เหมือนกันเลย


        4.แฟรช ไบออสใหม่ วิธีนี้ต้องมีเครื่องมือสำหรับ แฟรชไบออส และมีความยุ่งยากเนื่องจากต้องลื้อเครื่องและถอดตัวใบออสออกมาแฟรชข้างนอกและต้องใช้ความชำนาญพอสมควร

ภาพลักษณะของ Bios rom ของโน๊ตบุ๊ค
        5.เปลี่ยน Bios rom ใหม่ ถ้าใครมี Bios rom ที่เหมือนกันก็เปลี่ยนไปเลย

วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ไฟล์และโฟล์เดอร์ที่ถูกเข้ารหัส (ไฟล์สีเขียว) encrypt content to secure data

ไฟล์และโฟล์เดอร์ที่ถูกเข้ารหัส (ไฟล์สีเขียว) encrypt content to secure data


       ไฟล์หรือโฟล์เดอร์ที่มีสีเขียวนี้ แสดงว่าถูกเข้ารหัสความปลอดภัยไว้ตัวชื่อผู้ใช้งานและคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น ๆ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไดร์ไหนก็ตาม ผู้ใช้งานผู้อื่นจะไม่สามารถนำไฟล์เหล่านี้ไปใช้งานได้กล่าวคือ ไม่สามารถก็อปปี้ ลบ แก้ไข ดัดแปลงได้ (การเข้ารหัสนี้ถูกอ้างอิงกับชื่อผู้ใช้งานวินโดว์ Certificates ) นอกจากทำการฟอร์แมตไดร์ทั้งลูกจึงจะสามารถทำให้ข้อมูลนี้หายไปได้
        หากผู้ใช้งานวินโดว์ต้องการเข้ารหัสไฟล์ไว้จริง ๆ เข้าให้สำรองข้อมูลใบรับรองทางดิจิตอลไว้ด้วย การสำรอง ดูได้จากที่นี่ http://windows.microsoft.com/en-us/windows/back-up-efs-certificate#1TC=windows-7  ทำไมต้อสำรองไว้ เกิดระบบวินโดว์เสียเข้าใช้งานไม่ได้จะได้กลับมาแก้ไขไฟล์ที่ถูกเข้ารหัสนี้ได้
       ข้อควรระวัง ก่อนจะลงระบบใหม่ ให้ผู้ใช้งานสำรวจและแก้ไขการเข้ารหัสของไฟล์เหล่านี้ก่อนไม่อย่างนั้นท่านจะไม่สามารถใช้ไฟล์ข้อมูลที่เข้ารหัสพวกนี้ต่อไปได้เลยตลอดไป แม้จะถอดฮาร์ดดิสก์มาทำที่เครื่องอื่นก็ไม่สามารถแก้ไขได้
         วิธีการคือ สังเกตุดูว่ามีโฟล์เดอร์หรือไฟล์ไหนที่มีสีเขียวบ้าง (ไฟล์หรือโฟล์เดอร์งานของคุณ) หากมีวิธีคือ คลิ๊กขวาเลือก properties



กดปุ่ม advanced..



 เอาเครื่องหมายถูกหน้า encrypt content to secure data ออก  กด  OK



จะมีหน้าต่าง confirm attribute changes เพื่อยืนยันการทำงาน ให้เลือก apply changes to this folder, subfolders and files (กระทำกับแฟ้มข้อมูล แฟ้มข้อมูลภายในและไฟล์ทั้งหมด) กด OK จากนั้นรอจนกว่าจะเสร็จสิ้นขบวนการ

Hard reset ipad

เป็นวิธีการรีเซ็ต ipad ให้กลับไปเป็นค่าเริ่มต้นเหมือนตอนซื้อเครื่องมาใหม่ ๆ ใช้ในกรณีเครื่องล็อกรหัสแล้วใส่รหัสไม่ถูกต้องเกินกำหนดทำให้เครื่องไม่สามารถใช้งานได้ ข้อควรระวังข้อมูลในเครื่องจะถูกลบออกหมด
ดูตามคลิปประกอบ